เมนู

4. อนันตรปัจจัย


[273] 1. อรูปีธรรม เป็นปัจจัยแก่อรูปีธรรม ด้วยอำนาจ
ของอนันตรปัจจัย

คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอรูปีธรรม ที่เกิดก่อน ๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์
ทั้งหลายที่เป็นอรูปีธรรม ที่เกิดหลัง ๆ และแก่ผลสมาบัติ ด้วยอำนาจของ
อนันตรปัจจัย.

5. สมนันตรปัจจัย ฯลฯ 8. นิสสยปัจจัย


ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสมนันตรปัจจัย
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของสหชาตปัจจัย

มี 7 วาระ.
ในที่นี้ปัจจัยสงเคราะห์ไม่มี.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี 6 วาระ.
ฯลฯ เป็นปัจจัย ด้วยอำนาจของอัญญมัญญปัจจัย มี 7 วาระ.
ในที่นี้ปัจจัยสงเคราะห์ไม่มี.

9. อุปนิสสยปัจจัย


[274] 1. รูปีธรรม เป็นปัจจัยแก่อรูปีธรรม ด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่

บุคคลเข้าไปอาศัยอุตุ ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ แล้วให้ทาน ฯลฯ
ทำลายสงฆ์.
อุตุ โภชนะ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ผลสมาบัติ
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.
2. อรูปีธรรม เป็นปัจจัยแก่อรูปีธรรม ด้วยอำนาจ
ของอุปนิสสยปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ และ
ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ
บุคคลเข้าไปอาศัยทุกข์ทางกายแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์.
ศรัทธา ฯลฯ ทุกข์ทางกาย เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ผลสมาบัติ
ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[275] 1. รูปีธรรม เป็นปัจจัยแก่อรูปีธรรม ด้วยอำนาจ
ของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
ฯลฯ จักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ ฯลฯ กวฬีการาหาร โดยความเป็น
ของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.